Email
Password
Forgot your password?

เปปไทด์ต้านจุลชีพที่มีลักษณะเป็นเกลียวอัลฟาสายสั้น

Id
25
เลขคำขอ
1903001882
เลขที่ประกาศโฆษณา
21334
เลขที่สิทธิบัตร
21334
ประเภท
อนุสิทธิบัตร
ชื่อการประดิษฐ์/ออกแบบ

เปปไทด์ต้านจุลชีพที่มีลักษณะเป็นเกลียวอัลฟาสายสั้น

รายละเอียด/บทคัดย่อ

การประดิษฐ์นี้เป็นการออกแบบเปปไทด์ต้านจุลชีพให้มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อก่อโรคแบคทีเรีย โดยออกแบบเปปไทด์ต้านจุลชีพให้มีลักษณะเป็นเกลียวอัลฟาสายสั้นที่มีความสามารถในการทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียจนตายในที่สุด การออกแบบเปปไทด์ในการประดิษฐ์นี้ใช้การเชื่อมต่อกันของเปปไทด์ 2 ชนิด (hybridization) คือ เปปไทด์ที่มีกรดอะมิโนจำนวน 12 ตัว ได้แก่ ไลซีน (Lysine), ไอโซลูซีน (Isoleucine), อะลานีน (Alanine), ไลซีน (Lysine), อาร์จีนีน (Arginine), ไอโซลูซีน (Isoleucine), ทริปโตแฟน (Tryptophan), ไลซีน (Lysine), ไอโซลูซีน (Isoleucine), ลูซีน (Leucine), อาร์จีนีน (Arginine) และอาร์จีนีน (Arginine) ตำแหน่งที่ 1 ถึง 12 ตามลำดับ เชื่อมต่อกับเปปไทด์ที่มีกรดอะมิโนจำนวน 11 ตัว ได้แก่ อาร์จีนีน (Arginine), ลูซีน (Leucine), ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine), อาร์จีนีน (Arginine), อาร์จีนีน (Arginine), วาลีน (Valine), ไลซีน (Lysine), ไลซีน (Lysine), วาลีน (Valine), อะลานิน (Alanine) และไกลซีน (Glycine) ตำแหน่งที่ 1 ถึง 11 ตามลำดับ และใช้การตัดลดจำนวนกรดอะมิโน (truncation) โดยคงลำดับกรดอะมิโนที่สำคัญต่อโครงสร้างอัลฟาไว้ จึงได้เปปไทด์อนุพันธ์จำนวน 7 สาย ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทั้งประเภทแกรมลบและแกรมบวกรวมทั้งเชื้อก่อโรคดื้อยาได้ ซึ่งสามารถนำประยุกต์ใช้เป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคและ/หรือใช้เป็นยาร่วมในการรักษาโรคติดเชื้อ เพื่อลดภาวะดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้ จึงทำให้มีประโยชน์ทางด้านการแพทย์เป็นอย่างมากในอนาคต

ประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์
อุตสาหกรรม
-
สถานะ
Finished
ผู้ยื่น
รศ.ดร.รัชนีวรรณ อุ่นแพทย์
ผู้ทรงสิทธิร่วม

หนังสือสำคัญการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
หนังสือสำคัญ_1903001882.pdf
©2019