|
กรรมวิธีการสังเคราะห์ฟิล์มเคลือบเชิงประกอบฐานคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่มีส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอเนตเคลือบดัดแปรสำหรับยืดอายุการเก็บรักษาไข่ไก่
- Id
-
502
- เลขคำขอ
-
1803001742
- เลขที่ประกาศโฆษณา
-
20332
- เลขที่สิทธิบัตร
-
20332
- ประเภท
-
อนุสิทธิบัตร
- ชื่อการประดิษฐ์/ออกแบบ
-
กรรมวิธีการสังเคราะห์ฟิล์มเคลือบเชิงประกอบฐานคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่มีส่วนผสมของแคลเซียมคาร์บอเนตเคลือบดัดแปรสำหรับยืดอายุการเก็บรักษาไข่ไก่
- รายละเอียด/บทคัดย่อ
-
ไข่ไก่ถือว่าเป็นผลผลิตทางธรรมชาติที่นำมาประกอบอาหารง่ายที่สุด เนื่องจากไข่ไก่นั้นเป็นผลผลิตมาจากไก่ที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดหรือได้จากการเพาะเลี้ยง อีกทั้งสารอาหารจากไข่ไก่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารสูงมากที่จำเป็นต่อมนุษย์เช่น โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 แคลเซียม ดังนั้นไข่ไก่ถือว่าเป็นวัตถุดิบที่สำคัญต่อมนุษย์ ไก่แต่ละตัวจะให้ผลผลิตไข่เฉลี่ย 220 ถึง 300 ฟองต่อปีขึ้นอยู่กับพันธุ์และวิธีการเลี้ยง ในภาคครัวเรือนการซื้อขายไก่เพื่อนำมาบริโภคตลอดถึงการจัดเก็บรักษามีช่วงระยะเวลาไม่นานประมาณ 1-2 อาทิตย์ กรณีที่จัดเก็บในอุณหภูมิห้องปกติ หากนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำเช่น แช่ในตู้เย็น ก็สามารถยืดอายุของไข่เพิ่มขึ้น จากภาพรวมอุตสาหกรรมไข่ไก่ของไทยในปี พ.ศ. 2555-2559 ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยผลผลิตไข่ไก่ ประมาณ 39-41 ล้านฟองต่อวัน (อ้างอิงจาก กรมปศุสัตว์ สำนักงานเศรษฐกิจเกษตรและกรมศุลกากร) จากข้อมูลในปี 2557 - 2559 คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ ใช้มีการคาดคะเนการผลิตไข่ไก่ในกลุ่มประเทศที่เป็นผู้ส่งออกไข่ไก่รายใหญ่ของโลกได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ตุรกี โปแลนด์ เยอรมัน มาเลเซีย ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตไข่ไก่เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตไข่ไก่ทั่วทั้งโลก ถึงแม้ประเทศไทยจะมีแนวโน้มในการผลิตไข่ไก่ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะเทียบเคียงการผลิตไข่ไก่ของประเทศที่ผู้นำการส่งออกรายใหญ่ของโลกได้ และมีปัจจัยในด้านอื่นที่มีผลกระทบต่อการผลิตและการตลาดของไข่ไก่ ที่อาจจะทำให้การผลิตและการส่งออกไข่ไก่ลดลง คือ สภาพอากาศที่แปรปรวนที่ส่งผลต่อสุขภาพของแม่ไก่ทำให้อัตราการให้ไข่ลดลง ไข่ไก่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม เช่น การซึมผ่านของอากาศ ความชื้นที่จะส่งผลต่อคุณภาพของไข่ไก่ ตลอดจนฐานการผลิตไข่ไก่มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น แต่อุตสาหกรรมที่ใช้ในการแปรรูปไข่มีกับมีปริมาณน้อย และการสร้างผลิตภัณฑ์ไม่สอดคล้องกับความต้องการในการบริโภคไข่ไก่ (การบริโภคไข่ต่อคนต่อปีอยู่ในเกณฑ์ต่ำ) และที่สำคัญการส่งออกไข่ไก่ของไทยมีข้อจำกัดทั้งในเรื่องของตลาดและราคา ภาครัฐจึงมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดระบบการผลิตและการตลาดไก่ไข่และผลิตภัณฑ์จากไก่ไข่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ส่งผลให้การผลิตและการตลาดไก่ไข่และผลิตภัณฑ์จากไก่ไข่เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน และให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับไก่ไข่และผลิตภัณฑ์จากไก่ไข่ เพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่และความปลอดภัยของผู้บริโภค ตลอดจนมีผลิตภัณฑ์จากไก่ไข่และระบบการจัดการการผลิตที่ได้มาตรฐานสากลและไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนในการพัฒนาปรับปรุงการผลิตไข่ไก่ในอนาคตซึ่งจะสนับสนุนให้ภาคเอกชนให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมแปรรูป เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไข่ไก่ให้มีมากขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณการส่งออกของไข่ไก่ที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือ การควบคุมคุณภาพของไข่ไก่ได้ให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดได้ยาก เมื่อมีจำนวนของผลผลิตของไข่ไก่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของไข่ เช่น ปัจจัยด้านระยะเวลาในส่วนของการจัดเก็บการขนส่งและการจำหน่ายไข่ไก่ที่จะส่งผลต่อคุณภาพของเกรดไข่ลดลงเมื่อมีระยะเวลามากขึ้นเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงต้องใช้เทคโนโลยีเชิงวัสดุเข้ามาช่วยในการปรับปรุงคุณภาพและยืดอายุการจัดเก็บของไข่ไก่ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากวิธีการจัดเก็บรักษาไข่ที่อุณหภูมิต่ำที่ช่วยยืดอายุไข่ไก่ได้แล้ว แต่ในปัจจุบันยังมีวิธีการอื่น ๆ ที่ช่วยยืดอายุการจัดเก็บไข่ไก่ เช่น ใช้เซลลูโลสร่วมกับกรดไขมันใช้เป็นสารเคลือบเปลือกไข่เพื่อยืดอายุและความสดของไข่ไก่ (Panuwat et al., 2010) มีการใช้โปรตีนจากถั่วเหลือง เวย์โปรตีน คาร์บอกซิลเมทิลเซลลูโลสและกลูเตนจากข้าวสาลี นำมาเคลือบบนผิวของเปลือกไข่ (XIE. L et al., 2010) ,ใช้สารเคลือบไคโตซานร่วมกับกรดอินทรีย์เพื่อลดการแตกของเปลือกและปรับปรุงคุณภาพไข่ไก่ (Cenzig Cane et al., 2008) การเคลือบเปลือกไข่ด้วยน้ำมันมิเนอรัล (HISIL และ OTLES, 1997)
- ประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์
-
-
- อุตสาหกรรม
-
-
- สถานะ
-
Finished
- ผู้ยื่น
-
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น
- ผู้ทรงสิทธิร่วม
-
- หนังสือสำคัญการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
-
eCert_1803001742.pdf
|