|
กรรมวิธีการสร้างรูปแบบดีเอ็นเอโดยใช้เครื่องหมายไอพีบีเอสเพื่อใช้ในการจำแนกสาหร่ายไก
- Id
-
517
- เลขคำขอ
-
2003002394
- เลขที่ประกาศโฆษณา
-
21341
- เลขที่สิทธิบัตร
-
21341
- ประเภท
-
อนุสิทธิบัตร
- ชื่อการประดิษฐ์/ออกแบบ
-
กรรมวิธีการสร้างรูปแบบดีเอ็นเอโดยใช้เครื่องหมายไอพีบีเอสเพื่อใช้ในการจำแนกสาหร่ายไก
- รายละเอียด/บทคัดย่อ
-
การประดิษฐ์นี้เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการสร้างรูปแบบดีเอ็นเอโดยใช้เครื่องหมายไอพีบีเอสเพื่อใช้ในการจำแนกสาหร่ายไก โดยเริ่มการสกัดดีเอ็นเอสาหร่ายไกด้วยวิธีซีแทบ (CTAB) จากนั้นนำดีเอ็นเอที่สกัดได้มาคัดเลือกเฉพาะดีเอ็นเอที่ให้การดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 260:280 อยู่ในช่วง 1.77 ถึง 1.89 และใช้ปริมาณดีเอ็นเออยู่ในช่วง 59 ถึง 75 นาโนกรัม เพื่อเพิ่มปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอบริเวณรีโทรทรานสโปซอน ด้วยเครื่องหมายไอพีบีเอสโดยใช้ไพรเมอร์ชนิด 18 เบส จำนวน 9 ไพรเมอร์ และปริมาตรสารทั้งหมดที่ใช้ในการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ นำใส่เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมที่มีอุณหภูมิและเวลาในแต่ละขั้นตอนตามที่กำหนด นำชิ้นส่วนดีเอ็นเอบริเวณรีโทรทรานสโปซอนที่ผ่านการเพิ่มปริมาณแล้วมาทำการตรวจสอบโดยใช้เทคนิคอิเล็กโตรโฟรีซีสบนแผ่นอะกาโรสเจล จากนั้นย้อมด้วยเอธิเดียมโบรไมด์ เทียบกับดีเอ็นเอขนาด 100 คู่เบส โดยตรวจดูแถบดีเอ็นเอภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต ปรากฏแถบลายพิมพ์ดีเอ็นเอตามต้องการ ซึ่งการใช้เครื่องหมายไอพีบีเอสในการจัดจำแนกสาหร่ายไกนอกจากสามารถจำแนกความแตกต่างของสาหร่ายได้ถึงในระดับสายพันธุ์แล้วยังมีความถูกต้องแม่นยำสูง เป็นเทคนิคที่ทำง่าย ใช้ค่าใช้จ่ายน้อยเมื่อเทียบกับวิธีการอื่น จึงเหมาะกับการนำมาใช้ทดสอบความแตกต่างและควบคุมคุณภาพสายพันธุ์สาหร่ายในการผลิตเชิงพาณิชย์ได้
- ประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์
-
-
- อุตสาหกรรม
-
-
- สถานะ
-
Finished
- ผู้ยื่น
-
รองศาสตราจารย์ ดร.สุเปญญา จิตตพันธ์
- ผู้ทรงสิทธิร่วม
-
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
- หนังสือสำคัญการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
-
หนังสือสำคัญการจดทะเบียน_2003002394.pdf
|