|
ขากรรไกรล่างเทียมและข้อต่อเฉพาะบุคคล (Customized Mandibular and Temporomandibular Joint Prosthesis)
- Id
-
535
- เลขคำขอ
-
2101004005
- เลขที่ประกาศโฆษณา
-
2101004005A
- เลขที่สิทธิบัตร
-
-
- ประเภท
-
สิทธิบัตร
- ชื่อการประดิษฐ์/ออกแบบ
-
ขากรรไกรล่างเทียมและข้อต่อเฉพาะบุคคล (Customized Mandibular and Temporomandibular Joint Prosthesis)
- รายละเอียด/บทคัดย่อ
-
วัตถุประสงค์ของการประดิษฐ์นี้เพื่อจัดให้มีขากรรไกรเทียมและข้อต่อเฉพาะบุคคล เพื่อใช้ในการบูรณะกระดูกและโครงหน้าให้แก่ผู้ป่วยที่สูญเสียกระดูกขากรรไกร และข้อต่อขากรรไกรจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยเนื้องอกและถุงน้ำในกระดูกขากรรไกร ผู้ป่วยอุบัติเหตุที่มีการสูญเสียโครงขากรรไกร เป็นต้น ซึ่งตัวขากรรไกรเทียมและข้อต่อเฉพาะบุคคลนี้ประกอบไปด้วย ตัวโครงขากรรไกรเทียม ซึ่งมีที่รองรับสำหรับการปลูกกระดูกจริงได้ โดยมีประโยชน์ต่อการวางแผนการใส่ฟันปลอมในอนาคต และประกอบด้วยข้อต่อขากรรไกรเทียม ในกรณีที่มีการสูญเสียร่วมด้วย เพื่อให้การทำงานของขากรรไกรกลับมาใกล้เคียงปกติ และทำให้ได้โครงหน้าที่ใกล้เดิมได้มากที่สุด
นอกจากนี้วัตถุประสงค์ของการประดิษฐ์นี้คือ เพื่อช่วยลดความวิการ และลดหัตถการในการผ่าตัดของผู้ป่วยในการบูรณะโครงขากรรไกรผู้ป่วย เนื่องจากใช้ทดแทนการผ่าตัดกระดูกในปริมาณที่มากจากบริเวณอื่น ๆ ในร่างกายของตัวผู้ป่วยเอง และทำให้การผ่าตัดใช้ระยะเวลาของหัตถการลดลงด้วย
ซึ่งแต่เดิมหากมีการสูญเสียกระดูกขากรรไกรเป็นปริมาณที่มากนั้น การผ่าตัดรักษาเพื่อบูรณะกระดูกขากรรไกรจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการใช้กระดูกของผู้ป่วยเองจากส่วนต่าง ๆ เช่น กระดูกสะโพก กระดูกขาฟิบูล่า เป็นต้น และหากสูญเสียจนถึงข้อต่อขากรรไกรแล้ว จำเป็นต้องใช้กระดูกเป็นปริมาณมาก และไม่สามารถบูรณะตรงข้อต่อขากรรไกรได้ ซึ่งการใช้กระดูกเป็นปริมาณมากนี้ อาจส่งผลให้มีความเสี่ยงในการล้มเหลวจากการรักษา เช่น กระดูกละลายหรือตายได้ และการผ่าตัดรักษาต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดมยาสลบเป็นเวลานาน และแพทย์ผู้ผ่าตัดมีความเหนื่อยล้าในการทำงาน โดยขากรรไกรล่างเทียมและข้อต่อเฉพาะบุคคล พร้อมที่รองรับสำหรับการปลูกกระดูกนี้ ใช้การออกแบบในโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยลอกเลียนโครงกระดูกของผู้ป่วยเองอีกข้างหนึ่ง เพื่อให้ได้โครงหน้าที่ใกล้ความเป็นจริงก่อนที่จะมีการสูญเสียกระดูกขากรรไกรไป และมีการออกแบบให้สามารถวางกระดูกจริงในตำแหน่งที่จะต้องมีการใส่ฟันปลอมชดเชยฟันที่สูญเสียไปในบริเวณนั้นด้วย ซึ่งจะสามารถทำให้การใช้กระดูกจริงลดลง และยังสามารถใส่ฟันปลอมได้ต่อในอนาคต ซึ่งการผ่าตัดนำกระดูกจริงจากผู้ป่วยเมื่อใช้ปริมาณน้อยลง การผ่าตัดก็ย่อมใช้เวลาลดลง ความเสี่ยงต่อการเกิดอาการแทรกซ้อนต่อการผ่าตัดก็ลดลง เพราะการผ่าตัดซับซ้อนน้อยลงด้วย
- ประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์
-
-
- อุตสาหกรรม
-
-
- สถานะ
-
Process
- ผู้ยื่น
-
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิงณฤษพร ชัยประกิจ
- ผู้ทรงสิทธิร่วม
-
- หนังสือสำคัญการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
-
-
|