|
รถเข็นไฟฟ้าสำหรับเด็กพิการทางสมองและกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- Id
-
538
- เลขคำขอ
-
2003003413
- เลขที่ประกาศโฆษณา
-
19944
- เลขที่สิทธิบัตร
-
19944
- ประเภท
-
อนุสิทธิบัตร
- ชื่อการประดิษฐ์/ออกแบบ
-
รถเข็นไฟฟ้าสำหรับเด็กพิการทางสมองและกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- รายละเอียด/บทคัดย่อ
-
ในปัจจุบันนี้จะมีการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเดินและการเคลื่อนไหว เพื่อใช้ในการรักษาเด็กพิการทางสมองขึ้นมาอย่างหลากหลาย แต่จากการสำรวจในประเทศไทย พบว่าไม่ค่อยมีความหลากหลายและยังคงเป็นที่ขาดแคลนอย่างมาก รวมถึงตัวอุปกรณ์ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานกับกลุ่มเด็กที่กล้ามเนื้อขาอ่อนแรงและมีแรงไม่เพียงพอในการก้าวขาเองได้ ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้ไม่สามารถที่จะออกไปใช้ชีวิตข้างนอกและไม่สามารถไปโรงเรียนได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป ดังนั้นเด็กกลุ่มนี้จึงต้องการอุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนที่ เพิ่มอิสระในการเคลื่อนไหวให้เด็กสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ และเข้าสังคมอยู่ร่วมกับเด็กปกติได้โดยพยายามให้เด็กมีความแตกต่างกันน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางสังคมและสติปัญญามากขึ้น ทำให้สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กพิการทางสมองและครอบครัวให้ดีขึ้นได้ นอกจากนี้แล้วอุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถช่วยลดภาระของนักกายภาพบำบัดและผู้ปกครองในการดูแลเด็กขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อีกด้วย ชุดฐานรถเข็นไฟฟ้าสามารถใช้งานภายนอกอาคารได้ สามารถช่วยลดปัญหาของเด็กในเรื่องไม่ได้ไปโรงเรียน อีกทั้งยังช่วยให้เด็กรู้สึกสนุก ไม่รู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากเด็กปกติคนอื่น ๆ ซึ่งจากผลการสำรวจสอบถามเด็กพิการทางสมองพบว่า ร้อยละ 90 นั้นอยากไปโรงเรียน
ซึ่งวัตถุประสงค์หลักในการประดิษฐ์นี้ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ส่วนแรก คือ ส่วนปรับระดับสามารถปรับนอนไปเป็นยืนได้ เนื่องจากเด็กพิการเกิด
อาการเกร็งตลอดเวลาจึงต้องทำการให้เด็กนอน แล้วจึงปรับให้เด็กยืน เพื่อให้เด็กสามารถมีระดับสายตาระดับเดียวกับเด็กคนอื่นเวลาสนทนากันซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสื่อสาร และสามารถหยิบของในชั้นที่สูงขึ้นได้ ส่วนที่สอง คือ ส่วนที่สามารถเปลี่ยนจากการปรับยืนเป็นส่วนที่นั่งได้ โดยการถอดประกอบแบบง่ายทั้งหมด 4 จุด และส่วนที่สาม คือ ส่วนที่เป็นฐานรถเข็นไฟฟ้า ถูกแก้ไขออกแบบใหม่ให้สามารถเคลื่อนที่หมุนรอบตัวเองได้ และแก้ไของศาที่ติดสปริงทำให้ระบบกันสั่นสะเทือนใช้งานได้ดีขึ้น และสามารถเคลื่อนที่ขึ้นลงทางต่างระดับที่มีความต่างมากขึ้นได้ โดยมีโช้คอัพจำนวน 3 คู่ เพื่อให้สามารถขับขี่ขึ้น – ลง บนทางต่างระดับและขับขี่บนถนนที่ขรุขระได้ ซึ่งโช้คอัพจะช่วยให้ไม่เกิดการพลิกคว่ำและรถเข็นยังคงสภาพสมดุลฐานรถเข็นมีจำนวนล้อทั้งหมด 6 ล้อ ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อกลางด้วยมอเตอร์ ในส่วนปรับนอนไปเป็นยืนสามารถรองรับน้ำหนักของเด็กได้ถึง 40 กิโลกรัม ในส่วนที่นั่งสามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 70 กิโลกรัม จากผลการทดสอบการใช้งานของรถเข็นไฟฟ้า พบว่าสามารถขับขี่บนถนนที่ขรุขระ สามารถขึ้นลงทางต่างระดับสูง 8 ซม.และขึ้นเนินที่ความชันเท่ากับ 20° ได้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ตอนต้น ทั้งนี้อุปกรณ์ยังต้องการ การพัฒนาและปรับปรุงในรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ทดสอบและใช้งานในอนาคต
- ประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์
-
-
- อุตสาหกรรม
-
-
- สถานะ
-
Finished
- ผู้ยื่น
-
ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ
- ผู้ทรงสิทธิร่วม
-
- หนังสือสำคัญการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
-
หนังสือสำคัญการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร__2003003413.pdf
|