Email
Password
Forgot your password?

การวิเคราะห์ผลกระทบนโยบายการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด(ไทย) – เขตเศรษฐกิจเมียวดี(พม่า)ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)

Id
786
เลขคำขอ
347480
เลขที่ประกาศโฆษณา
-
เลขที่สิทธิบัตร
ว.39718
ประเภท
ลิขสิทธิ์
ชื่อการประดิษฐ์/ออกแบบ

การวิเคราะห์ผลกระทบนโยบายการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด(ไทย) – เขตเศรษฐกิจเมียวดี(พม่า)ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)

รายละเอียด/บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “การทะยานขึ้นของจีนในอาเซียนและผลกระทบต่อภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า การทะยานขึ้นของจีนในอาเซียนนั้นส่งผลต่อภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของอาเซียนอย่างไร และเพื่อศึกษาว่าประเทศในอาเซียนที่รวมกันเป็นประชาคมควรกำหนดท่าทีหรือนโยบายร่วมกันเพื่อรับมือกับการทะยานขึ้นเป็นมหาอำนาจของจีนอย่างไร การศึกษาวิจัยเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary Research) ผลการศึกษาพบว่า
การดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนที่มีต่ออาเซียน ได้เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะหลังจากที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง จีนได้เข้ามาเกี่ยวพันทางเศรษฐกิจกับอาเซียนเพิ่มขึ้น จากการทะยานขึ้นของจีนทั้งทางภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ ได้ก่อให้เกิดการตื่นตัวจากประเทศสมาชิกอาเซียน ขณะเดียวกันจีนเริ่มตระหนักถึงผลของการใช้อำนาจแบบ Hard Power จากนั้นจีนได้มีการขยายอำนาจแบบใหม่ Soft Power โดยมีการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและความช่วยเหลือด้านอื่นๆ กับประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่ายแบบ Win-Win เนื่องจากจีนกับอาซียนมีภูมิศาสตร์มีอาณาเขตติดต่อกัน มีความใกล้ชิดทางประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น
จากความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีน ได้เกิดขึ้นท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงจากภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการดำเนินความสัมพันธ์ทางการเมืองมาสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับการทะยานขึ้นของจีนในการก้าวขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ดังนั้นท่าทีระหว่างอาเซียนกับจีนจึงเปลี่ยนแปลงไปโดยการส่งเสริมความร่วมมือในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ และถือเป็นความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน และมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของอาเซียนในการการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งได้ทำให้ภูมิเศรษฐศาสตร์ของอาเซียนและจีนกลายเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญของเอเซีย

ประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์
อุตสาหกรรม
-
สถานะ
Finished
ผู้ยื่น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทยา สุวคันธ์
ผู้ทรงสิทธิร่วม

หนังสือสำคัญการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
หนังสือสำคัญการจดลิขสิทธิ์_347840.pdf
©2019