Email
Password
Forgot your password?

ศักยภาพพื้นที่เศรษฐกิจแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ กรณีศึกษาอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ไทย และเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว

Id
827
เลขคำขอ
310611
เลขที่ประกาศโฆษณา
-
เลขที่สิทธิบัตร
0816512450
ประเภท
ลิขสิทธิ์
ชื่อการประดิษฐ์/ออกแบบ

ศักยภาพพื้นที่เศรษฐกิจแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ กรณีศึกษาอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ไทย และเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว

รายละเอียด/บทคัดย่อ

เป็นงานวิจัยที่ทำการศึกษาเรื่อง ศักยภาพพื้นที่เศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้: กรณีศึกษา อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ไทย และเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการพื้นที่เศรษฐกิจบนระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย (ไทย) และเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (สปป.ลาว) เพื่อศึกษาว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อศักยภาพพื้นที่เศรษฐกิจบนระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย (ไทย) และเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (สปป.ลาว) และเพื่อศึกษาว่ามีปัญหาและอุปสรรคใดบ้างที่มีผลต่อศักยภาพพื้นที่เศรษฐกิจบนระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ไทย และเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการศึกษาพบว่า
พัฒนาการพื้นที่เศรษฐกิจบนระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย (ไทย) และเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (สปป.ลาว) เริ่มในช่วงหลังการสิ้นสุดสงครามเย็น เมื่อทศวรรษ 1990 ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้เข้ามามีบทบาทในการผลักดันโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) การพัฒนา 3 เส้นทางหลัก คือ ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-west Economic Corridor: EWEC) ระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor: NSEC) และระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (South Economic Corridor: SEC) ซึ่งเส้นทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (NSEC) ได้ก่อให้เกิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ตั้งอยู่บริเวณ อ.เชียงของ จ.เชียงราย (ไทย) กับ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (สปป.ลาว) ซึ่งจะทำให้เป็น “ประตูการขนส่ง” กลายเป็น “ประตูการค้า” และ “ประตูเศรษฐกิจ” ของประเทศไทยและสปป.ลาว
ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพพื้นที่เศรษฐกิจบนระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย (ไทย) และเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (สปป.ลาว) มี 3 ปัจจัย คือ (1) การเมือง การพัฒนาพื้นที่ของไทยและสปป.ลาวต่างมีบริบทความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง ประกอบกับนโยบายจินตนาการใหม่ของสปป.ลาว และ นโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าของไทย ได้ทำให้ทั้งสองประเทศมีนโยบายในทิศทางเดียวกัน คือการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (2) เศรษฐกิจ ไทยและสปป.ลาวพยายามจะผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจในอำเภอเชียงของและเมืองห้วยทราย การพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตนิคมอุตสาหกรรม (3) สังคมและวัฒนธรรม มีส่วนในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสปป.ลาว เช่น การมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน ความคล้ายคลึงทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม เป็นต้น
และปัญหาและอุปสรรค มี 3 ประเด็นคือ (1) การเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งในส่วนของผู้นำระดับสูง รัฐบาล และภาคเอกชน ได้เปิดพื้นที่ให้มีการปรึกษาหารือระหว่างสองประเทศ การกำหนดทิศทางแนวทางการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (2) เศรษฐกิจ จากการพัฒนาพื้นที่ทางเศรษฐกิจเชียงของ-ห้วยทราย เพื่อเชื่อมไทย-สปป.ลาว-จีน ซึ่งจะทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น และ (3) สังคมและวัฒนธรรม ได้ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเข้ามาของเทคโนโลยี ระบบการผลิต การสื่อสาร และการขนส่งที่ทันสมัย ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนอาชีพจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคนอกเกษตรกรรม การขยายตัวมากขึ้นของปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต

ประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์
อุตสาหกรรม
-
สถานะ
Finished
ผู้ยื่น
รองศาสตราจารย์ ดร.พิทยา สุวคันธ์
ผู้ทรงสิทธิร่วม

หนังสือสำคัญการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
หนังสือสำคัญการจด_ลข._310611.pdf
©2019