Email
Password
Forgot your password?

แนวทางการจัดตั้งเครือข่ายอาจารย์อาสา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Id
838
เลขคำขอ
318724
เลขที่ประกาศโฆษณา
-
เลขที่สิทธิบัตร
ว.36173
ประเภท
ลิขสิทธิ์
ชื่อการประดิษฐ์/ออกแบบ

แนวทางการจัดตั้งเครือข่ายอาจารย์อาสา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รายละเอียด/บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการประเมินระบบและกลไกประกันคุณภาพการศึกษา ของสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ 1).เพื่อศึกษาและประเมินระบบและกลไกการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ของสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ดำเนินงานในช่วงปี 2552-2554 2). ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องต่อระบบกลไกการดำเนินงานประกันคุณภาพของสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ 3). ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (best practice) หน่วยงานที่มีแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อหาแบบอย่างที่ดีสำหรับพัฒนาจัดทำข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ของสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร
ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ระบบและกลไกการดำเนินการประกันคุณภาพ พบว่า ตัวมาตรฐานองค์ประกอบ/ตัวบ่งชี้/เกณฑ์คะแนน ไม่เสถียรยังมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี ในหน่วยงานมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการการจัดเก็บข้อมูล การเขียนรายงานประเมินตนเอง ที่อยู่ในองค์ประกอบคณะทำงานประกันคุณภาพของหน่วยงานอยู่แล้ว แต่มีความจำกัดอยู่บ้างเนื่องจากเป็นองค์กรขนาดเล็ก และมีงานหลักที่เป็นงานประจำที่ต้องดำเนินการอยู่ค่อนข้างมาก
ผลการศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพและระบบกลไกงานประกันคุณภาพ พบว่า มีขนาดและองค์ประกอบที่เหมาะสมแล้ว การเก็บรวบรวมข้อมูลและการเขียนรายงานที่มีผู้รับผิดชอบหลักที่ทำงานแต่ละด้านนั้นๆอยู่แล้วก็มีความเหมาะสม แต่ยังมีปัญหาเรื่องความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลที่รายงาน และการมีส่วนร่วมของบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากรสายวิชาการที่เป็นอาจารย์ยังมีบทบาทน้อยและมีส่วนร่วมน้อย
ผลการศึกษาการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ผู้บริหารให้ความเห็นว่าหน่วยงานมีผลงานเด่นในเรื่องการบริการวิชาการ ซึ่งควรจะให้รักษาสถานภาพเดิมไว้ สำหรับองค์ประกอบ/ตัวชี้วัด ที่ควรจะพัฒนาเป็น Best Practices ควรเพิ่มการพัฒนาด้านการศึกษา ในด้านของคุณภาพและอัตลักษณ์ของหน่วยงาน และพัฒนาด้านงานวิจัย ให้มีผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น เกี่ยวกับการพัฒนา เกี่ยวกับชนบท และอาสาสมัคร
และผลการศึกษาระบบกลไกการประกันคุณภาพหน่วยงานที่มีแนวปฏิบัติที่ดี สรุปว่าว่าการพัฒนาระบบกลไกการประกันคุณภาพของสำนักบัณฑิตอาสาสมัครจะต้องเริ่มตั้งแต่หัวหน้าหน่วยงาน ผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญและให้ความสำคัญมากกับงานประกันคุณภาพ อาจารย์ต้องมีส่วนร่วมในงานประกันคุณภาพมากขึ้น ที่สำคัญต้องสนับสนุนและผลักดันให้อาจารย์เป็นผู้ตรวจประเมินจะได้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ในการตรวจประเมินมาใช้ประโยชน์ในงานประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งมีการพัฒนาระบบข้อมูลทำเป็นระบบคลังข้อมูลจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบรองรับงานประกันคุณภาพและการพัฒนาของสำนักฯ

ประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์
อุตสาหกรรม
-
สถานะ
Finished
ผู้ยื่น
นางสาวศรีสุข มงกุฎวิสุทธิ์
ผู้ทรงสิทธิร่วม

หนังสือสำคัญการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
หนังสือสำคัญการจด_ลข._318724.pdf
©2019