Email
Password
Forgot your password?

ชุดตรวจและวิธีการตรวจยีนเอชแอลเอบี 1502 ด้วยความต้านทานเชิงเคมีไฟฟ้า

Id
855
เลขคำขอ
2101003906
เลขที่ประกาศโฆษณา
2101003906A
เลขที่สิทธิบัตร
-
ประเภท
สิทธิบัตร
ชื่อการประดิษฐ์/ออกแบบ

ชุดตรวจและวิธีการตรวจยีนเอชแอลเอบี 1502 ด้วยความต้านทานเชิงเคมีไฟฟ้า

รายละเอียด/บทคัดย่อ

ชุดตรวจและวิธีการตรวจยีนเอชแอลเอบี 1502 ด้วยความต้านทานเชิงเคมีไฟฟ้า ใช้ในการค้นหายีนเอชแอลเอบี 1502 (HLA*B 1502) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการแพ้ยาทางผิวหนัง ที่เรียกว่า Stevens-Johnson syndrome (SJS)/toxic epidermal necrolysis(TEN) (SJS/TEN) เมื่อมีการใช้ยาคาร์บามาเซพีน (carbamazepine) หรือยากันชัก ซึ่งในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคลมชักรายใหม่ที่ต้องใช้ยาคาร์บามาเซพีนจำนวนนับแสนราย โดยพบว่าผู้ป่วยที่มียีนเอชแอลเอบี 1502 มีความเสี่ยงต่อการเกิดการแพ้ยาทางผิวหนัง เมื่อมีการใช้ยาคาร์บามาเซพีนสูงกว่าผู้ที่ไม่มียีนนี้ถึง 2,504 เท่า จากรายงานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2563 พบผู้ป่วยที่มีการแพ้ยาทางผิวหนัง โดยมีอาการผื่นแพ้ยารุนแรงชนิดที่มีการหลุดลอกของผิวหนัง หรือเกิดเป็นแผลพุพองทั่วร่างกายคล้ายไฟไหม้ และเกือบเสียชีวิต มากถึง 1,000-2,000 รายต่อปี และยาที่เป็นสาเหตุต้นๆ คือยาคาร์บามาเซพีน สำนักงานหลักประกันสุขภาพจึงประกาศเพิ่มสิทธิประโยชน์การตรวจยีนดังกล่าว
ชุดตรวจและวิธีการตรวจยีนเอชแอลเอบี 1502 ด้วยความต้านทานเชิงเคมีไฟฟ้า อาศัยการออกแบบลำดับนิวคลีโอไทด์ที่จำเพาะต่อยีนเอชแอลเอบี 1502 และการเพิ่มจำนวนยีนจากตัวอย่างเลือดผู้ป่วยด้วยเทคนิคพีซีอาร์ ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะวัดความต้านทานเชิงเคมีไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าระหว่างยีนเอชแอลเอบี 1502 และสีสังเคราะห์ที่มีชื่อว่า H33258 บนแผ่นทดสอบชนิดคาร์บอน ซึ่งแผ่นทดสอบนี้จะประกอบด้วย ขั้วทำงาน (working electrode; WE) และขั้วอ้างอิง (reference electrode; RE) ด้วยเครื่องวัดความต้านทานไฟฟ้า ซึ่งใช้ระยะเวลาเพียง 1 นาที การใช้ชุดตรวจและวิธีการตรวจยีนเอชแอลเอบี 1502 ด้วยความต้านทานเชิงเคมีไฟฟ้านี้ จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจยีนนี้ได้มากขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีการที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องการเครื่องมือที่มีราคาแพง สามารถนำไปใช้ในห้องปฏิบัติการขนาดเล็ก เช่น ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล หรือพื้นที่ห่างกันจากโรงพยาบาลระดับใหญ่ได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งตัวอย่างตรวจและระยะเวลารอผลตรวจจากทางห้องปฏิบัติการ อีกทั้งจะช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้อีกด้วย

ประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์
อุตสาหกรรม
-
สถานะ
Process
ผู้ยื่น
ผศ.ดร.ฌลณต เกษตร
ผู้ทรงสิทธิร่วม

หนังสือสำคัญการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
-
©2019